วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555



กิจกรรมแก้ปัญหาการไม่พูดและแสดงออก(ระดับปฐมวัย) ครูฐาวดี ทองขะโชค รร.อนุบาลเด่นหล้า




        จากการดู VDO โทรทัศน์ครู เรื่อง กิจกรรมแก้ปัญหาการไม่พูดและแสดงออก(ระดับปฐมวัย) 
ครูฐาวดี ทองขะโชค รร.อนุบาลเด่นหล้า

        มุ่งเน้น พัฒนาเด็ก 3 ด้าน คือ
        - ด้านร่างกาย
        - ด้านภาษา พูดได้ สื่อสารกับบุคคลอื่นได้
        - ด้านความคิดรงบยอด รวบรวมข้อมูล แล้วสังเคราะห์ออกมาตามความคิดของเด็ก

        เมื่อเด็กไม่พูดเลย อาจจะหมายความว่า เด็กอาจจเข้าใจ หรือ เด็กอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ แต่ครูเมื่อสังเกตุว่าเด็กไม่พูด นั่น คือ เด็ก จะไม่เข้าใจ เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง โดยหาแรงจูงใจ หรือ ของเล่น มาดึงดูดความสนใจของเด็กโดยจะมีกระบวนการที่ทำให้เด็กกล้าแสดงออกมากขึ้น
หลังจากจัดกิจกรรมให้เด็กระหว่างนั้น จะทำให้เด็กเกิดการสื่อสารกันขึ้น  เด็กได้รู้จักการใช้ระดับความดังเยาของเสียง

        


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555


        วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกาาส่งงานทั้งหมด รวมถึงบล็อกด้วย เพื่อ ร่วมกับนักศึกาาหาจุดบกพร่องที่ควรแก้ไขในนบล็อกของนักศึกาาแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ลูกเล่นภายใรบล็อก รวมทั้งพื้นหลัง ฯลฯ 

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลืออกมาร้องเพลงที่แต่ง

กลุ่ม : นิธิวัฒน์ และ ปรางวลี
เพลง : กินผัก ผลไม้
         
                            กินผักแล้วมีประโยชน์                                
                  ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
                  เกลือแร่ก็มีมากมาย                                        
                  อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
                  กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน(กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน)  
                  ของดีล้วนๆไม่ควรเขี่ยทิ้ง


อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาเล่านิทานโดยเทคนิคต่างๆ

กลุ่ม เฟริ์น       เรื่อง ดาวน้อยลอยในทะเล         เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม หนิง        เรื่อง ยักษ์สองตนกัวใจเดียวกัน  เล่าไปพับไป
กลุ่ม หยก         เรื่อง ชายขี้เบื่อ                           เล่าไปพับไป
กลุ่ม เอ๋ย          เรื่อง พระจันทรืยิ้ม                      เล่าไปตัดไป
กลุ่ม ส้ม           เรื่อง เต่าขี้บ่น                             เล่าด้วยเชือก
กลุ่ม มด           เรื่อง ดินสอวิเศษ                       เล่าไปพับไป
กลุ่ม ปักเป้า      เรื่อง ความสามัคคีของผีเสื้อ     เล่าด้วยเชือก
กลุ่ม เพลง        เรื่อง กระต่ายกับแครอท             เล่าด้วยเชือก
กลุ่ม แป้ง          เรื่อง ครอบครัวทั้ง 4                  เล่าด้วยเชือก
กลุ่ม อ๊อฟ         เรื่อง เรือโจรสลัด                      เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม พราว        เรื่อง เจ้าหมีกับผึ้งน้อย              เล่าไปตัดไป
กลุ่ม แกน         เรื่อง หัวใจล้านดวง                    เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม กวาง        เรื่อง เพื่อน                                 เล่าไปวาดไป











วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555



วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเข้าชมนิทรรศกาลอาเซียน
โครงการศึกาาศาสตร์วิชาการ
คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน
ผอ. ราตรี ศรีไพรวรรณ เป็นวิทยากร

คำขยวัญของอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม
(One Vision One Identity One Community)


กำเนิดอาเซียน
          อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย  
        ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
        วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก



       สัญลักษณืของอาเซียน คือ รวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขามและนำ้เงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง หมาถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

ประเทศสมาชิกอาเซียน







เพลง The Asean Way



วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การใช้วรรณกรรมเป็นพื้นฐานในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
     
       วรรณกรรม ก็คือ นิทาน
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ ได้ ยกตัวอย่างของนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด
       ประโยชน์ของการฟังนิทาน เรื่อง อัลเฟรด
       - ทำให้เกิดพัฒนาการทางภาษา ทั้ง 4 ด้าน คือ การพูด การฟัง การอ่านและการเขียน
       - ทำให้เกิดพัฒนาการทางความคิด เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์
       - พัฒนาทางด้านสังคม คือ การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
       - พัฒนาทางด้านอารมณ์ คือ ทุกคนย่อมมีข้อที่แตกต่างกันแต่ข้อที่แตกต่างตรงนั้น เราต้องยอมรับมันให้ได้ แล้วนำข้อแตกต่างนั้นมาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
       แนวคิดสำคัญของนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด
       - การช่วยเหลือเป็นสิ่งที่เด็กควรปฏิบัติ
       - เด็กควรขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือ



หน้าปกเรื่องช้างน้อยอัลเฟรด




นิทานเรื่่อง ช้างน้อยอัลเฟรด


       มีวิธีการส่งเสริมเด็กโดย

       - ให้ออกมาเล่านิทานหน้าชั้นเรียน
       ให้เด็กออกมาเล่านิทานหน้าชั้นเรียน เมื่อเด็กได้ออกมาเล่าหน้าชั้นเรียน จะทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการพูด และการจับใจความ มีความกล้าแสดงออกหรือความมั่นใจ ฝึกให้เด็กเกิดการคาดคะเน จากประสบการณ์เดิม

        - แสดงบทบาทสมมุติ
        เป็นการแสดงความรู้สึกทางด้านอารมณ์ของเด็ก เด็ก ได้แสดงความรู้ ความคิดของตนเองใส่ลงไปในบทบาทของตัวละคร แสดงให้เห็นถึงความเสียสละ ในการแบ่งอุปกรณ์ และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำฉาก

        อาจารย์ได้ให้นักศึกษาฟังเพลง เกาะสมุย



        อาจารย์ได้มอบหมายงาน
        - ให้สัปดาห์หน้าแต่ละกลุ่มออกมาเล่นิทาน โดยการใช้เทคนิคต่างๆ
                   - เล่าไปพับไป
                   - เล่าไปฉีกไป
                   - เล่าไปวาดไป
                   - เล่าไปตัดไป
                   - เล่าด้วยเชือก

         

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555


วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555


        กลุ่มข้าพเจ้าได้ เล่านิทานจากการใช้สื่อแผ่น ซีดี ในระดับอนุบาล 1 
        เรื่อง ทอม แอนด์ เจอร์รี่



ประวัติน้อง

                น้องชื่อ กาฟิล  อายุ  4 ขวบ โรงเรียน วัดลาดพร้าว

พฤติกรรมของน้อง กาฟิล

                เมื่อเข้าไปพูดคุยน้องมีอาการเขินอาย ไม่กล้าพูด หรือมองหน้าด้วย แต่เมื่อมีการพูดคุยสักพักน้องจึงยอมดูวีดีโอ และ ตอบคำถามที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ถาม น้องสามารถพูดได้เป็นประโยคสั้นๆๆ 2-3 คำ มีการดูวีดีโออย่าตั้งใจ แต่จะดูได้ไม่นาน      


พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 3-4 ขวบ แบ่งเป็น 4 ด้านคือ

        - ด้านการฟัง เด็กจะชอบฟังนิทานที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังสองค่อสองมากกว่าแบบเป็นกลุ่ม
เด็กจะตั้งใจฟัง แต่เมื่อฟังแล้วจะฟังได้ไม่นาน
        - ด้านการพูด เด็กจะพูดได้ 3-4 คำ ชอบพูดกับคนในจินตนาการ
        - ด้านการอ่าน เด็กจะสามารถจดจำ จากสิ่งที่พบเห็นบ่อยๆๆได้ ชื่อตนเอง ชื่อขนมที่รับประทา                  นบ่อยๆๆ
        - ด้านการเขียน เด็กจะชอบเขียนหนังสือตัวโตๆทุกหนทุกแห่ง การวาดรูป รูปที่วาดออกมาจะค่อนข้างหยาบๆ เช่น การวาดคนจะสามารถวาดเป็นเส้นตรงได้ สี่เหลี่ยม และวงกลมได้



วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555



วัน อาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เป็นวันที่เรียนชดเชย เนื่องจากอ.จินตนา ได้ ยกเลิกการเรียนการสอนไป 1 สัปดาห์


       หลักการจัดประสบการณ์ เกิดจาก สิ่งที่สอดคล้อง หรือใกล้เคียงกับตัวเด็ก สิ่งเหล่านี้ จะทำให้เด็กมีข้อมูลที่จะสามารถพูด หรือ อธิบายสิ่งต่างๆ ได้

       จุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์จากสิ่งที่สอดคล้อง หรือใกล้ตัวเด็ก
1. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์พัฒนาการทางภาษา เกี่ยวกับการพูด
2. ให้เด็กได้ฝึกการใช้ภาษาเพื่อที่จะอธิบายความรู้สึก

       จุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์จากโฆษณา
1. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์พัฒนาการทางภาษา เกี่ยวกับการพูด
2. ทำให้เด็กเกิดการวิเคราะห์ โดยเป็นภาษาคำพูด
3. เด็กได้เรียนรู้การโฆษณา จากสื่อต่างๆๆ
       ฝึกให้เด็ก เลียนแบบจากโฆษณา
       ให้เด็ก สามารถคิดโฆษณาสินค้าของตัวเองได้
              โฆษณามีองค์ประกอบ 2 สิ่ง
              - คุณลักษณะ
              - คำพูดที่ดึงดูด โฆษณานั้นๆ

       การประชาสัมพันธ์ เกิดจาก
       - ข้อมูลทีร่เป็นความจริง
       - สถานที่
       - เวลา
       จุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์จากการประชาสัมพันธ์
1. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์พัฒนาการทางภาษา เกี่ยวกับการพูด

       การเล่าข่าว เกิดจาก
       - เรื่องราวที่เป็นจริง
       - มีกราอ้างอิง ว่ามาเอามาจากไหน
       จุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์จากการเล่าข่าว
1. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์พัฒนาการทางภาษา เกี่ยวกับการพูด

       การเล่าเรื่องราวตนเอง เกิดจาก
       - การทบทวนเหตุการณ์
       - การเรียงลำดับเหตุการณ์
       จุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์จากการเล่าข่าว
1. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์พัฒนาการทางภาษา เกี่ยวกับการพูด
2. เกิดการแปลงเหตุการณ์ต่างๆ เป็นคำพูด