วรรณกรรม ก็คือ นิทาน
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ ได้ ยกตัวอย่างของนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด
ประโยชน์ของการฟังนิทาน เรื่อง อัลเฟรด
- ทำให้เกิดพัฒนาการทางภาษา ทั้ง 4 ด้าน คือ การพูด การฟัง การอ่านและการเขียน
- ทำให้เกิดพัฒนาการทางความคิด เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์
- พัฒนาทางด้านสังคม คือ การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
- พัฒนาทางด้านอารมณ์ คือ ทุกคนย่อมมีข้อที่แตกต่างกันแต่ข้อที่แตกต่างตรงนั้น เราต้องยอมรับมันให้ได้ แล้วนำข้อแตกต่างนั้นมาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
แนวคิดสำคัญของนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด
- การช่วยเหลือเป็นสิ่งที่เด็กควรปฏิบัติ
- เด็กควรขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือ
หน้าปกเรื่องช้างน้อยอัลเฟรด
นิทานเรื่่อง ช้างน้อยอัลเฟรด
มีวิธีการส่งเสริมเด็กโดย
- ให้ออกมาเล่านิทานหน้าชั้นเรียน
ให้เด็กออกมาเล่านิทานหน้าชั้นเรียน เมื่อเด็กได้ออกมาเล่าหน้าชั้นเรียน จะทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการพูด และการจับใจความ มีความกล้าแสดงออกหรือความมั่นใจ ฝึกให้เด็กเกิดการคาดคะเน จากประสบการณ์เดิม
- แสดงบทบาทสมมุติ
เป็นการแสดงความรู้สึกทางด้านอารมณ์ของเด็ก เด็ก ได้แสดงความรู้ ความคิดของตนเองใส่ลงไปในบทบาทของตัวละคร แสดงให้เห็นถึงความเสียสละ ในการแบ่งอุปกรณ์ และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำฉาก
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาฟังเพลง เกาะสมุย
- ให้สัปดาห์หน้าแต่ละกลุ่มออกมาเล่นิทาน โดยการใช้เทคนิคต่างๆ
- เล่าไปพับไป
- เล่าไปฉีกไป
- เล่าไปวาดไป
- เล่าไปตัดไป
- เล่าด้วยเชือก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น